วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมสอดไส้...ไทเชียงคาน

ผมเป็นสมาชิก Chiangkhan.com เพราะมีความผูกพันธ์กับเมืองนี้มากว่ายี่สิบปี สองปีมานี้เชียงคานกำลังเปลี่ยนไปมาก ที่รับรู้ได้ทุกครั้งที่ไปในช่วงหลัง และเว็บไซต์นี้เกิดขึ้นโดยคนเชียงคานเองที่ลุกขึ้นมาปกป้องบ้านเขา แม้จะต้องถอยร่นกับกระแสวัฒนธรรมการท่องเที่ยวอย่างไร้สติ ที่เร่งเข้ามากอบโกยโดยไม่แยแสต่อสิทธิคนเชียงแต่อย่างใด ข้อความต่อไปนี้ผมคัดลอกมาจาทblog ของสมาชิกท่านหนึ่งของเว็บไซด์นี้ สท้อนความรู้สึกของคนเชียงคานกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเจ็บปวดของคนเชียงคานที่อยู่ริมโขง และคนที่คุ้นเคยกับเชียงคานในอดีตอย่างผม นี้เป็นบางส่วนเท่านั้น หากต้องการฟังเสียงของคนเชียงคานและผู้รักเชียงคานเข้าไปดูที่

http://www.chiangkhan.com/profiles/blogs/2066709:BlogPost:286278?commentId=2066709%3AComment%3A290417&xg_source=msg_com_blogpost



.......หลังจากที่เดินทอดน่องที่ริมโขง จากคำทักทาย กินข้าวแล้วเบาะ กินข้าวหรือยัง แลจะขาดหายไปมิใช่นำใจที่ขาดหาย แต่ผู้คนที่เป็นพ่อแม่พี่ป้าน้าอาหายไปไหนกันหมด

(เป็นกูก็หนีว่ะ แม่งเดินหลังบ้านหน้าบ้าน ยืนถ่ายรูป เป็นมึงมึงชอบหรือเปล่าว่ะ จะกินข้าวคนแปลกหน้าเดินผ่านหลังบ้าง ส่องกล้องเข้าไปในบ้าน จะต้องระวังแม่งจะถ่ายรูป จะนอน จะกิน จะเดิน ไม่เป็นส่วนตัว) ขอใช้คำแบบนี้เพราะมันจริง
บ้านเรือนที่แต่งแต้มสีสรร ข้างนอกไม้เก่า ข้างในสาดไฟไม่แคร์สภาวะโลกร้อน เวสป้าจอดหน้าร้าน ตู้ไปรษณีย์ส่วนตัวตั้งหน้าร้าน หลักกิโล ร้านขายขนมเก่าที่เปิดใหม่ตอนเป็นเด็กกินแค่ไม่กี่อัน ที่เหลือมาจากไหนฟ่ะ (เชียงคานมีขายขนมน้อยมาก กินแต่ไอติมลุงเติบ ข้าวปุ้น ตำส้ม)

กินสเต็ก นั่งจิบวายแดง ฟังเพลงแจ๊ส มองแม่น้ำโขง

ไม่ได้รังเกียจหรืออิจฉา แต่มันไม่ใช่ วัฒนธรรมของคนเชียงคาน


วันนั้นเห็นนักท่องเที่ยว เข้าไปซื้อของร้านอื่น ๆ เต็มสองข้างถนน แต่ร้านของคนเชียงคานร้านป้าคนหนึ่ง(ขออภัยจำไม่ได้ว่าชื่อร้านอะไร) ยืนเรียกลูกค้าให้ซื้อของ
"น้ำตาผมร่วง"
หรือว่าเราไม่มี วิถีที่จะเป็นเอกลักษณ์ของเรา จึงถูกคนอื่นมาหากินบนวิถีของเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น