วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นางพญา วัดถ้ำขาม

พระผงนางพญา วัดถ้ำขาม


นางพญาวัดถ้ำขาม(เนื้อพิเศษ)

ความเป็นมา
                   ผู้สร้าง(ผู้เขียน)  มีความจำเป็นต้องหาของที่ระลึก  ไว้แจกให้ผู้เคารพนับถือ ที่มาร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่ (อดีต สส.อนงค์ ตงศิริ ปม.)  ในวันที่  25 ธันวาคม 2536  จึงตัดสินใจทำ  พระนางพญาเนื้อผง  เมื่อนำเรื่องไปปรึกษา  ท่านพระอาจารย์พัลลพ  จิรธัมโม  เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านคำประมง  ตำบลสว่าง  อำเภอพรรณนานิคม   จังหวัดสกลนคร  เพื่อขออนุญาตทำที่วัดท่าน  เพราะที่วัดท่านมีพระลูกวัดคือ ครูบาวีระ ฐิตวิรโย มีความรู้ในการทำพระเครื่อง   และก่อนหน้านั้นไม่นาน ท่านเพิ่งทำพระเครื่องจำนวน  84,000  องค์  เป็นพระเบญจภาคี เนื้อดินเผา  เพื่อบรรจุใส่ผนังพระอุโบสถวัดคำประมง  จึงขออนุญาตใช้  บล็อคพระนางพญา  ของท่านมาทำ โดยเปลี่ยนบล็อคด้านหลัง     เป็นยันต์คาถาย่อ นะ มะ พะ ทะ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร   ส่วนด้านบน เป็นตัว   อุ ของวัดคำประมง และ เขียนข้างล่างว่า วัดถ้ำขามซึ่งก็ได้ขออนุญาตท่าน  พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย เจ้าอาวาสวัดถ้ำขามแล้ว


ครูบาวีระ และต๋อม บนแพริมเขื่อนวัดคำประมง

                  ครูบาวีระฯ ได้ให้ไปหามวลสาร  พร้อมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้เช่น น้ำมันตังอิ้ว  เปลือกหอย น้ำมันจันทร์ ผงธูป  ข้าวแห้ง  ดอกไม้แห้ง  กล้วยหอม หินสบู่ และปูนขาว เป็นต้น   ผมจึงไปหาเปลือกหอยแครง หอยขม หอยโข่ง แล้วเอามาเผาบดให้เป็นแป้ง  ดอกไม้แห้งจากกุฏิหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  (วัดถ้ำขาม) และ หลวงปู่สิม   พุทธาจาโร  (วัดคำประมง และ วัดถ้ำผาป่อง)   ผงธูปจากวัดป่าอุดมสมพร วัดถ้ำขาม   และ  วัดคำประมง
                  และเมื่อได้อุปกรณ์มวลสารครบแล้ว ก็ลงมือทำ   เมื่อกลางเดือน  ตุลาคม  2546    แพริมเขื่อนวัดคำประมง  โดยครูบาวีระ ฯ  ควบคุมการทำ  มีนายศักดิ์ชัย  ศรีวิชัย (ต๋อม)   เป็นลูกมือ  ทำอยู่ 6 วัน  จึงเสร็จ  ได้พระนางพญาวัดถ้ำขาม เนื้อผงและปิดทองเปลว (ทอง K)  ด้านหน้า 3,000 องค์*    และเนื้อพิเศษปิดทองคำเปลวแท้   อีก  403  องค์**  (ในโอกาสเดียวกันได้แบ่งเนื้อพิเศษ ไปสร้างพระเบญจภาคีวัดคำประมง  อีก  25  ชุด  ไว้ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คนละ 5 ชุด)   เมื่อทำเสร็จแล้วก็ทำลายบล็อค  (ด้านหลัง)  โดยใช้ขวานทุบ   แล้วโยนลงเขื่อนที่ข้างแพนั้นเอง



เนื้อทั่วไป




      ชุดเบญจภาคี วัดคำประมง(พิเศษ)

มวลสารหลัก*
                    1. ข้าวเหนียวแห้งก้นบาตร หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี   วัดถ้ำขาม
                    2. ผงดอกบัว ดอกมะลิแห้ง จากหิ้งพระ กุฏิหลวงปู่เทสก์ และหลวงปู่ สิม (จากครูบาวีระ )
                    3. ผงและดินในกระถางธูป  จากวัดป่าอุดมสมพร และ วัดถ้ำผาป่อง(จากครูบาวีระ)
                    4. ผงจากแก่นขาม จากต้นมะขามวัดถ้ำขาม
                    5. ผงจากไม้มุงหลังคาเก่า กุฏิหลวงปู่มั่น วัดป่าภูริภัตโต บ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม
มวลสารเสริม(รุ่นพิเศษ)**
                    1. เกศาอริยสงฆ์ 7 รูป  หลวงปู่ขาว อนาลโย    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร    หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี
                                   หลวงปู่สิม  พุทธาจาโร    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน  และ 
                                    พระอาจารย์วัน  อุตตโม           
                    2. ผงชานหมาก  หลวงปู่ฝั้น   หลวงปู่ขาว   และ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
                    3. ผง  ลูกพระพุทธเจ้า  5  พระองค์  ของหลวงพ่อจันทร์ดี เกสาโว
                    4. ดินรองน้ำล้างอัฐิ  หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  (จากคุณวนิดา โมราราษฏ์)
                    5. ผงจีวร  หลวงปู่ฝั้น  ที่หลุดออกมาจากกองไฟพระราชทานเพลิงศพ(จากคุณวนิดา โมราราษฏร์)
            ผู้สร้างได้เอาสิ่งมงคลต่างๆ ที่ตัวเองได้สะสมมาและ จากครูบาวีระ จากญาติมิตร เช่น  คุณฮุย-คุณเฉลียว แต้ศิริเวชช์  คุณวนิดา โมราราษฏร์ (ลูกสาวคุณลุงโหมด โมราราษฏร์ ผู้เป็นโยมอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น และหลวงปู่ฝั้น)

การปลุกเสก และอธิษฐานจิต
                      เมื่อทำเสร็จแล้วมีเวลาผึ่งแห้ง(ตากลม)น้อยมาก  ทำให้เนื้อพระยังไม่แกร่ง แต่จำเป็นต้องรีบเข้าพิธีปลุกเสกในพิธีใหญ่ฉลองพระอุโบสถวัดคำประมง   ตลอดคืนวันที่ 16 พย. 2536 โดยพระเกจิ จำนวน 36 รูปเข้าร่วมพิธี   มีหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ   เป็นประธานนั่งปรก  ทั้งๆแรกเริ่มตั้งใจเพียงให้พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย อธิษฐานจิตให้ก็พอ     แต่ด้วยกุศลจิตที่ต้องการกระทำบูชาพระคุณของคุณแม่ จึงได้มีโอกาสเข้าพิธีปลุกเสกใหญ่ที่วัดคำประมง    และสิ่งที่ไม่คาดก็อุบัติขึ้นอีก   เมื่อพระอาจารย์อุทัย  ฌานุตตโม  (พระอาจารย์ติ๊ก)    พระลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่เทสก์ มาที่บ้านคุณฮุย แต้ศิริเวชช์ 
                       ผมเลยได้เข้าไปกราบเรียนปรึกษาท่านว่า  หากกระผมจะนำพระผงนางพญา   ที่จะทำไว้แจกในงานพระราชทานเพลิงศพแม่ไปให้หลวงปู่พิจารณาอธิษฐานจิตให้  จะได้ไหมครับ
                       ท่านตอบว่ากู  (ท่านชอบใช้สรรพนามอย่างนี้กับลูกศิษย์ใกล้ชิด)   เป็นคนตั้งกฎเองไม่ให้ใครเอาอะไรไปให้หลวงปู่ปลุกเสกหรืออธิษฐานจิตเด็ดขาด เพราะหลวงปู่ไม่ชอบ
                       เล่นเอาจ๋อยไปเหมือนกัน 
                       อีกครู่ท่านก็เอ่ยขึ้น   แต่กรณีโยมอนงค์    ท่านคงเมตตา พิจารณาให้    ว่าแต่มึงจะเอาขึ้นไป (ขึ้นวัดถ้ำขาม)  เมื่อไหร่
                       เลยกราบเรียนท่านไปว่า หากท่านอาจารย์เห็นไม่เป็นการรบกวนหลวงปู่จนเกินไป กระผมก็จะเอาขึ้นไปพรุ่งนี้เช้าครับ  (ซึ่งตรงกับวันอังคาร)   เพราะเวลาเหลือน้อยแล้วครับ
                        ท่านนั่งนิ่งอยู่ครู่ใหญ่ ก่อนเอ่ยอย่างจริงจังว่า  ให้พวกมึงไปเย็นวันพฤหัส ช่วงก่อนหลวงปู่สรงน้ำ จะดีที่สุด และอย่าบอกนะว่ากูบอก
                        หลังจากได้ข้อแนะนำจากท่านพระอาจารย์ติ๊ก   กำลังใจและความเชื่อมั่นก็มีเพิ่มขึ้นเป็นกอง  และรอจนถึงบ่ายแก่ๆของวันพฤหัสขึ้น 5  ค่ำ  เดือน 12  ตรงกับ  วันที่  18 พฤศจิกายน  2536   วันนั้นเราไปด้วยกันแค่สองคนคือผู้เขียน และคุณฮุย   เอาผ้าขาวห่อกล่องพระทั้งหมด 3,528  องค์ (เนื้อปกติ 3000+พิเศษ 403+เบญจภาคีวัดคำประมง 125 องค์  รวมเป็น 3,528 )
                      พอถึงบันไดกุฏิหลวงปู่  เห็นญาติโยมคณะสุดท้ายกำลังลงจากกุฏิพอดี   เราเลยเป็นคณะปิดท้ายที่เข้าไปกราบหลวงปู่  และวันนั้นพระทรงวุฒิ  ซึ่งเป็นพระเลขา(ไม่ทราบใครตั้ง)  หรือที่ใครๆ  เรียกว่า  พระตู่ไม่อยู่ที่กุฏิหลวงปู่  เห็นว่าไปธุระในเมือง หรือต่างจังหวัด   เลยนึกในใจว่า วันนี้ ทำไมโชคดีอย่างนี้   ทศกัน  ไม่อยู่ ทำให้เข้ากราบหลวงปู่อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด  ระหว่างลูกหลาน กับหลวงปู่
                       พอได้จังหวะก็กราบเรียนหลวงปู่ไปว่า ขอโอกาสกระผม   ผมสร้างพระนางพญาไว้แจกแก่ผู้ที่จะมาในพิธีพระราชทานเพลิงศพคุณแม่ครับ    และอยากขอเมตตาจากหลวงปู่พิจารณาแผ่จิตให้ด้วย  ครับกระผม และในใจขณะนั้นคิดว่า  หากดูหลวงปู่ ไม่สบายใจที่จะรับให้ ก็จะขอกราบลาขนกลับทันที จะไม่รบเร้าอย่างเด็ดขาด
                        แต่เหมือนสวรรค์โปรด หลวงปู่ไม่มีปฏิกิริยาใดๆที่จะปฏิเสธเลย พร้อมถามว่า ไหน ดูสิเป็นพระอะไร  และแบมือขอดู   ผมจึงรีบแกะผ้าห่อหยิบให้ท่านดู  แต่พอยื่นถวายให้ท่านดู  ท่านพูดว่า เออ มองไม่เห็นหรอก  (อาจเพราะพระเล็ก และแสงในกุฏิก็ไม่สู้จะสว่างนัก)   เอ้า เอาไว้นี้แหละ    พร้อมกับให้พระที่อยู่คอยดูแลหลวงปู่มารับเอาห่อกล่องพระ  ยกไปไว้ข้างหัวเตียงหลวงปู่   เราก็พากันกราบลาหลวงปู่กลับด้วยความปลื้มปรีติยิ่ง
                       หลังจากวันนั้น 11 วันครูบาตู่(พระทรงวุฒ)โทรมาจากวัดถ้ำขาม   บอกให้ไปรับพระที่ฝากหลวงปู่พิจารณากลับได้แล้ว  เย็นวันนั้นผู้เขียนกับคุณฮุยก็ขึ้นไปที่วัดถ้ำขามอีกครั้งเพื่อไปขอรับพระกลับลงมา
                      และก่อนจะกลับ เลยยกพระทั้งหมดไปพบ  ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย(เจ้าอาวาสวัดถ้ำขาม)   เพื่อขอความเมตตาให้ท่านอธิษฐานจิตให้ปิดท้ายอีกครั้งที่ศาลา ใต้ชะง่อนหินวัดถ้ำขาม ท่านก็เมตตาบริกรรมสวดคาถาอธิษฐานจิตให้ตรงนั้นเลยทีเดียว  พอเสร็จแล้วก็กราบลาท่านกลับ
                      วันนั้น วันที่  29   พฤศจิกายน  2536  เป็นวันที่จำได้อย่างถนัดตาว่า เป็นวันเพ็ญขึ้น 15  ค่ำ เดือน 12 เพราะช่วงเวลาลงมาจากวัดถ้ำขาม  เป็นเวลาพลบค่ำ ได้เห็นพระจันทร์ดวงกลมใหญ่กำลังขึ้นจากขอบฟ้า ทางด้านขวามือของทางเดินลงจากวัด สวยงามมาก  จนรู้สึกขนลุกด้วยความปรีติ  ปรีติยินดีในบุญบารมีของคุณแม่ ที่ท่านได้สั่งสมมาทั้งทางโลกและทางธรรม  จึงทำให้การกระทำอะไรเพื่อบูชาคุณท่านราบรื่นอย่างเหนือความคาดหมายตลอดเวลา  ทั้งๆลูกๆเพียงแต่อยากจะทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดเพื่อสนองคุณท่าน โดยไม่ได้ตั้งความหวังอะไรให้เลิศเลอเลย   แต่ก็มักจะได้มากกว่า  ดีกว่า  ที่อยากจะทำ ดังเช่นการสร้าง พระนางพญา วัดถ้ำขาม ครั้งนี้

ปล.พระทั้งหมด 3,528  องค์  แจกจ่าย  ดังนี้
             -   เนื้อปกติ 3,000 องค์ แจกในพิธีและหลังพิธีพระราชทานเพลิงศพ ประมาณ1,600 องค์ เก็บไว้แบ่งญาติ
                  พี่น้อง    ประมาณ 500 องค์ ที่เหลือ 900 องค์ถวายเจ้าอาวาสวัด ป่าอุดมสมพร(พระอาจารย์แปลง) และ วัดถ้ำขาม
                  (พระอาจารย์เขี่ยม) วัดละ 450 องค์
             -    เนื้อพิเศษ 403 องค์แบ่งผู้มีส่วนสร้าง ญาติพี่น้อง และแขกผู้ใหญ่ ทั้งหมด
             -    พระเบญจภาคี  125  องค์แบ่งผู้เกี่ยวข้อง 5 คน คนละ 5 ชุด


                                                                                                                                   ประสาท ตงศิริ



                                                          ...........................................

13 ความคิดเห็น:

  1. มาถึงวันนี้ 20ปีผ่านไป ไม่น่าเชื่อว่ามีคนแสวงหาพระนางพญาวัดถ้ำขามกันมากมาย จนผู้สร้างเองก็เที่ยวบูชากลับมาให้แก่ผู้ใหญ่ที่ขอมา หากบอกว่าหมดก็จะหาว่าหวงของ จึงต้องสั่งคนในวงการพระให้หามาให้ ได้คืนมาหลายองค์ตั้งแต่หลักร้อย จนหลังๆหลักพันก็ยังไม่ค่อยมีแล้ว

    ตอบลบ
  2. มาถึงวันนี้ 20ปีผ่านไป ไม่น่าเชื่อว่ามีคนแสวงหาพระนางพญาวัดถ้ำขามกันมากมาย จนผู้สร้างเองก็เที่ยวบูชากลับมาให้แก่ผู้ใหญ่ที่ขอมา หากบอกว่าหมดก็จะหาว่าหวงของ จึงต้องสั่งคนในวงการพระให้หามาให้ ได้คืนมาหลายองค์ตั้งแต่หลักร้อย จนหลังๆหลักพันก็ยังไม่ค่อยมีแล้ว

    ตอบลบ
  3. มาถึงวันนี้ 20ปีผ่านไป ไม่น่าเชื่อว่ามีคนแสวงหาพระนางพญาวัดถ้ำขามกันมากมาย จนผู้สร้างเองก็เที่ยวบูชากลับมาให้แก่ผู้ใหญ่ที่ขอมา หากบอกว่าหมดก็จะหาว่าหวงของ จึงต้องสั่งคนในวงการพระให้หามาให้ ได้คืนมาหลายองค์ตั้งแต่หลักร้อย จนหลังๆหลักพันก็ยังไม่ค่อยมีแล้ว

    ตอบลบ
  4. มาถึงวันนี้ 20ปีผ่านไป ไม่น่าเชื่อว่ามีคนแสวงหาพระนางพญาวัดถ้ำขามกันมากมาย จนผู้สร้างเองก็เที่ยวบูชากลับมาให้แก่ผู้ใหญ่ที่ขอมา หากบอกว่าหมดก็จะหาว่าหวงของ จึงต้องสั่งคนในวงการพระให้หามาให้ ได้คืนมาหลายองค์ตั้งแต่หลักร้อย จนหลังๆหลักพันก็ยังไม่ค่อยมีแล้ว

    ตอบลบ
  5. มาถึงวันนี้ 20ปีผ่านไป ไม่น่าเชื่อว่ามีคนแสวงหาพระนางพญาวัดถ้ำขามกันมากมาย จนผู้สร้างเองก็เที่ยวบูชากลับมาให้แก่ผู้ใหญ่ที่ขอมา หากบอกว่าหมดก็จะหาว่าหวงของ จึงต้องสั่งคนในวงการพระให้หามาให้ ได้คืนมาหลายองค์ตั้งแต่หลักร้อย จนหลังๆหลักพันก็ยังไม่ค่อยมีแล้ว

    ตอบลบ
  6. มาถึงวันนี้ 20ปีผ่านไป ไม่น่าเชื่อว่ามีคนแสวงหาพระนางพญาวัดถ้ำขามกันมากมาย จนผู้สร้างเองก็เที่ยวบูชากลับมาให้แก่ผู้ใหญ่ที่ขอมา หากบอกว่าหมดก็จะหาว่าหวงของ จึงต้องสั่งคนในวงการพระให้หามาให้ ได้คืนมาหลายองค์ตั้งแต่หลักร้อย จนหลังๆหลักพันก็ยังไม่ค่อยมีแล้ว

    ตอบลบ
  7. ผมไปเที่ยวบูชาพระนี้กลับมากว่ายิ่สิบองค์แล้ว ตั้งแต่700-800บาท จนหลังสุด 4500 บาท แต่ถึงขนาดนั้นก็ยังหาบูชาได้ปีละไม่ถึงสององค์

    ตอบลบ
  8. ผมได้รับจากท่านพระอาจารย์เขี่ยมหลายองค์ในกล่องมีปั้มน้ำมันรองยุ

    ตอบลบ
  9. วันที่คุณประสาทนำไปถวายท่านบอกผมหมดแล้วถวายท่านพระอาจารย์เขี่ยมกกเล็ก

    ตอบลบ
  10. ยังพอมีอยู่หลายองค์ครับ555ผมโชคดีจังเลยก๊กเล็ก

    ตอบลบ
  11. ผมมีแบบมีเส้นเกษาครับ

    ตอบลบ